สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกล้วนประกอบไปด้วยหน่วยย่อยพื้นฐานที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั่นก็คือ เซลล์ ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด และเซลล์แต่ละชนิดนั้นมีการทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับเซลล์พืช และเซลล์สัตว์ที่เกิดจากเซลล์หลากหลายชนิดมาเชื่อมต่อกันในจำนวนหลายล้านเซลล์ นับว่าเป็นเซลล์ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และสามารถพบได้บ่อยที่สุด วันนี้ ALTV จะขอพาไปเรียนรู้ และทำความรู้จักกับประเภท รวมถึงหน้าที่ของเซลล์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร❓
สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจเกิดจากเซลล์เพียงเซลล์เดียว ทำให้มีขนาดเล็ก และมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน แต่อีกบางชนิดก็อาจจะเกิดขึ้นจากเซลล์หลายชนิด โดยสามารถแบ่งสิ่งมีชีวิตได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โพรคาริโอต และ เซลล์ยูคาริโอต
เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรม หรือ นิวเคลียส ฉะนั้นสารพันธุกรรมจะอยู่ในไซโทพลาสของเซลล์เหล่านั้น มีลักษณะค่อนข้างเล็กอยู่ที่ 0.2-10 ไมโครเมตร และมักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำในอาณาจักรโมเนอรา และสามารถพบได้ในตระกูล แบคทีเรีย และ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น
เป็นเซลล์ที่พบได้ในอาณาจักรโปรติสตา ฟังใจ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ เพราะว่ามนุษย์นั้นมีโครงสร้างที่จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในมนุษย์จะพบเซลล์ยูคาริโอต แต่จะไม่พบเซลล์โพคาริโอต โดยในเซลล์นี้จะมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่ชัดเจน สารพันธุกรรมต่าง ๆ ก็จะอยู่ในนิวเคลียส ซึ่งมีขอบเขตให้เห็นได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเซลล์ที่สามารถพบได้บ่อย ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ ทั้งเซลล์พืช และเซลล์สัตว์ มักจะมีออร์แกเนลล์ที่สำคัญอยู่หลายชนิด ได้แก่
1.นิวเคลียส (Nucleus)
เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ 2 ชั้น และมีความสำคัญกับเซลล์มาก เพราะว่าเป็นที่บรรจุของสารพันธุกรรม DNA บริเวณที่เกิดการจำลองตัวเอง (Replication DNA) และ การถอดรหัสของดีเอ็นเอ (Transcription DNA) ในทางกลับกันบางเซลล์ก็ไม่มีนิวเคลียสยกตัวอย่างเช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม และเซลล์ชีฟทิวบ์ในท่อลำเลียงอาหารของพืช
2.ไรโบโซม (Ribosome)
เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ ลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ เกาะอยู่ 2 จุด ทั้งในไซโทพลาสซึม ซึ่งจะทำหน้าที่ในการผลิตโปรตีนสำหรับใช้ในเซลล์ และอีกจุดหนึ่งจะเกาะอยู่ในบริเวณเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม ซึ่งจะทำหน้าที่ในการผลิตโปรตีนเพื่อส่งออกไปยังนอกเซลล์ต่าง ๆ
3.เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic Reticulum)
เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล์เพียงชั้นเดียว สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบขรุขระ (Rough ER) โดยจะมีตัวไรโบโซมมาเกาะอยู่จึงต้องคอยทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งออกนอกเซลล์ต่อไป และ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบเรียบ (Smooth ER) ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ลิพิดหรือว่าไขมัน และมี ตับ เป็นอวัยวะที่สำคัญทำหน้าที่คอยกำจัดสารพิษให้กับร่างกายของเรา
4.กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi complex)
มีชื่อเรียกทั่วไปอีก 2 ชื่อที่สามารถเรียกได้ทั้ง กอลจิบอดี้ (Golgi body) และ กอลจิแอพพาราตัส (Golgi apparatus) ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล์เพียงชั้นเดียว มีหน้าที่ในการเติมคาร์โบไฮเดรตให้กับโปรตีนที่สังเคราะห์มาจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบขรุขระ (Rough ER) เพื่อทำให้มันเป็นไกลโคโปรตีนต่อไป นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ไลโซโซมอีกด้วย
5.ไลโซโซม (Lysosome)
เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล์เพียงชั้นเดียว ภายในจะมีความเป็นกรด ซึ่งจะมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้ามาในเซลล์ รวมถึงจะทำหน้าที่ในการกำจัดออร์แกเนลล์ที่หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพให้หลุดออกไป
6.แวคิวโอล (Vacuole)
มีลักษณะเป็นถุงน้ำขนาดใหญ่ภายในเซลล์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่
7.ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
นับว่าเป็นออร์แกเนลล์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อเซลล์อย่างมาก โดยจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ 2 ชั้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการหายใจในระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โดยจะมีหน้าที่หลัก ๆ ในการสร้างและผลิตพลังงานให้กับเซลล์ ทำให้เกิดวัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle) และเกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอน (Electron transport chain)
8.คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)
เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล 2 ชั้น จะมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่หลัก ๆ ที่ทำให้เกิดกระบวนการ หรือปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยจะเกิดขึ้นที่บริเวณ ไทลาคอยด์ (Thylakoid) และ ลาเมลลา (Lamella) ส่วนปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนนั้นจะสามารถเกิดได้ที่บริเวณ สโตรมา (Stroma) นั่นเอง
9.เพอรอกซิโซม (Peroxisome)
เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล์เพียงชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุงกลม ๆ คล้ายกับไลโซโซม ซึ่งจะทำหน้าที่หลัก ๆ คือการสลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ H2O2 ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ โดยจะพบมากในเซลล์ตับ เพราะมันจะคอยทำหน้าที่ในการทำลายสารพิษในร่างกาย เช่น แอลกอฮอล์ และอีกหนึ่งหน้าที่คือการเปลี่ยนไขมันให้เป็นน้ำตาลนั่นเอง
10.ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
นอกจากนี้ น้อง ๆ ม.ปลายทุคนสามารถเข้าไปเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในวิชาชีววิทยากับครูพี่โฟล์ค ได้ในรายการ ห้องเรียนติวเข้ม ม.ปลาย << (คลิกเลย) ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13.40 น. และเสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.30 น. ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก