ปัญหามลพิษเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนในปัจจุบันให้ความสำคัญ โดยเฉพาะมลพิษที่มาจากรถยนต์ วันที่ 22 กันยายน ของทุกปี จึงถูกกำหนดให้เป็นวันคาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) เพื่อจะได้เป็นการลดการใช้น้ำมัน ลดมลภาวะทางอากาศ และลดมลภาวะทางเสียง
เมื่อรถยนต์ส่วนตัว ปล่อยของเสียให้ส่วนรวม
ในโลกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแทบทุกบ้านจะต้องมีรถยนต์อย่างน้อยสัก 1 คัน ผลก็สืบเนื่องมาจากการเดินทางที่สะดวกสบาย รวดเร็วทันใจสามารถเดินทางไปไหนก็ได้ แถมยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มาพร้อมกับรถยนต์ แม้จะมีข้อดีอยู่มาก แต่ก็มีข้อเสียไม่น้อยเช่นกัน จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อรถยนต์ส่วนตัวของคุณ ปล่อยของเสีย หรือที่เรียกว่า มลพิษในอากาศที่แฝงอันตรายมากมายให้แก่ตัวคุณและส่วนรวม
ในรถหนึ่งคันสามารถปล่อยขอเสียได้มากมาย ทั้งในรูปแบบก๊าซที่เป็นควันและเขม่าผง ทั้งหมดล้วนเป็นมลพิษทางอากาศ โดยส่วนใหญ่ก๊าซที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์ คือ
เป็นสารก่อมลพิษที่ทำให้เกิดควันสีขาว มีลักษณะเป็นก๊าซที่ไม่มี สี รสและกลิ่น น้ำหนักเบากว่าอากาศทั่วไปเล็กน้อย เมื่อหายใจเข้าไปก๊าซนี้จะรวมตัวฮีโมโกลบิน(Haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงขัดขวางการนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ
เป็นก๊าซที่มีมากที่สุดและเป็นตัวการของการเกิดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุการเกิดมีหลายอย่างรวมถึงเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ลักษณะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ แต่หากร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้เลือดเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นระบบหายใจทำให้หายใจเร็วขึ้น หัวใจจึงเต้นเร็ว และกดสมองทำให้หมดสติ
สาเหตุการเกิดมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ในอุณหภูมิสูง มีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เมื่อทำปฏิกิริยากับสารอื่น เช่น สารระเหยอินทรีย์ (Volatile Organic Compound) และกรดไนตริก จะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ รวมถึงปอดของมนุษย์
เป็นก๊าซไม่มีสีไม่ไวไฟที่ระดับความเข้มข้นสูง จะมีกลิ่นฉุนแสบจมูกเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศ ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังทำให้ฝนมีสภาพความเป็นกรดมากขึ้น ส่งผลให้ทำลายระบบนิเวศน์ ป่าไม้ แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมถึงการกัดกร่อนอาคารและโบราณสถาน
เป็นโมเลกุลของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่ได้เป็นอันตรายโดยตรงต่อชีวิตและสุขภาพ แต่จะอันตรายเมื่อรวมตัวจนเกิดปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ทำให้เกิดปรากฏการณ์หมอกพิษ (Photochemical Smog)
ควันรถยนต์แม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแบบฉับพลันแก่มนุษย์ แต่เมื่อสูดดมจนสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมาก จะทำให้เกิดผลเสียในระยะยาว อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก จากการสะสมก๊าซพิษในอากาศจนทำลายชั้นโอโซนของโลก เพื่อลดมลพิษเหล่านี้ การใช้รถยนต์ส่วนตัวเท่าที่จำเป็นจึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ทั้งโลกให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกยังคงมีอากาศบริสุทธิ์และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับมนุษย์ต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม