“วันเต่าโลก” หรือ “World Turtle Day”
หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าวันที่ 23 พฤษภาคมของทุกปีนั้น มีความสำคัญอย่างไร และทำไมต้องถูกกำหนดให้เป็นวัน “วันเต่าโลก” ด้วย วันนี้ ALTV ขอชวนทุกคนร่วมอนุรักษ์เต่าทุกชนิดไม่ให้ สูญพันธุ์ไปจากโลก โดยการพาไปดูเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “เต่า” แสนน่ารัก
🌟จุดเริ่มต้น “วันเต่าโลก”
เริ่มจากองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ในสหรัฐอเมริกา หรือ American Tortoise Rescue ได้ข้อสรุปจากการสำรวจของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล พบว่าเต่าทะเลมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการติดเครื่องมือของชาวประมง การทิ้งขยะลงทะเล ปัญญาการลักลอบเก็บไข่เต่า รวมถึงพื้นที่วางไข่และพื้นที่หากินบริเวณชายฝั่ง ได้ลดลงจากฝีมือมนุษย์นั่นเอง ทำให้เต่ามีพื้นที่วางไข่เหลือเพียงแค่ 1 ใน 5 ส่วน ภายในระยะเวลา 60 ปี ด้วยเหตุผลนี้ จึงได้เสนอให้ วันที่ 23 พฤษภาคม เป็น “วันเต่าโลก” เพื่อถือโอกาสกระตุ้นสังคมและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์เต่าให้กับทุกคน
🐢5 เรื่องจริงของเต่าที่อาจไม่เคยรู้ !
👉1.เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน
หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าเต่าเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันแน่ ! บ้างก็บอกว่าเป็นสัตว์บก บ้างก็บอกว่าเป็นสัตว์น้ำ แต่แท้จริงแล้วนั้น “เต่า” เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่อาศัยอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ มีผิวหนังค่อนข้างแห้ง ไม่มีขน มีเกล็ดรอบตัว และออกลูกเป็นไข่
👉2.เต่า ไม่มีฟัน ! แล้วกินอาหารอย่างไร ?
การที่เต่าไม่มีฟันเคี้ยวอาหารเหมือนสัตว์ชนิดอื่น ๆ ก็เพราะว่ามีริมฝีปากที่ค่อนข้างแข็งแรงและคม สามารถใช้ขบอาหารแทนการใช้ฟันได้เป็นอย่างดี
👉3.เต่า ออกจากกระดองได้หรือไม่
ภาพเต่าตามจินตนาการในวัยเด็กที่ได้เห็นจากการ์ตูนหลาย ๆ เรื่อง จะเห็นว่า เต่าออกจากกระดองมาเดินเล่นได้ แต่นั่นเป็นเพียงโลกแห่งจินตนาการ แท้จริงแล้ว เต่าไม่สามารถออกจากกระดองได้เลย เพราะว่าข้างในกระดอง เต็มไปด้วยอวัยะต่าง ๆ ที่ยึดติดกับซี่โครง และกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เต่าสามารถหดหัวเข้าไปในกระดอกได้นั่นเอง
👉4.ไม่ใช่ เต่า ทุกชนิดที่ว่ายน้ำได้
ว่ายน้ำไม่เป็น ถ้าปล่อยลงน้ำก็จม เพราะกระดองหนักมาก
เท้ากลม ไม่มีพังผืด มีเล็บหนา ๆ ขามีเกล็ดแข็ง
ว่ายน้ำได้ แต่ก็ต้องการพื้นดินไว้พักเหนื่อยด้วย
เท้าแบน มีพังผืดระหว่างนิ้ว มีเล็บขนาดเล็ก
อยู่ในทะเลตลอด ยกเว้นฤดูที่ต้องขึ้นมาวางไข่
ขามีลักษณะคล้ายใบพาย
👉5.เต่าเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์ยาก
ในช่วงฤดูฝน กว่าเต่าตัวผู้และตัวเมียจะเดินทางมาผสมพันธุ์กันได้ในแต่ละครั้ง ต้องมีอายุ 15-18 ปีขึ้นไป และใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยหลังจากผสมพันธุ์แล้ว นับไปอีก 1 สัปดาห์ แม่เต่าตัวนั้นจะขึ้นมาวางไข่ โดยจะใช้เวลาขุดหลุมกว่า 2 ชั่วโมง และวางไข่อีกประมาณ 45-60 นาที โดยเต่าจะฟักตัวกว่า 50 วัน จนกลายมาเป็นลูกเต่าตัวน้อย ๆ โผล่พ้นทราย และเดินลงทะเลในที่สุด และถึงแม้เต่าจะอายุครบ 100 ปี ก็ยังสามารถขึ้นมาวางไข่ได้อีกเช่นกัน ฉะนั้นเต่าถือว่าเป็นสัตว์ที่ต้องใช้เวลาอย่างมากตั้งแต่การผสมพันธุ์สู่ลูกเต่าตัวน้อย ๆ ในที่สุด
🐢อยากดูน้องเต่า ต้องไปดู ❗️
สำหรับคนรักน้องเต่าต้องห้ามพลาด กับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเต่าทะเลในจังหวัดชลบุรี เรียกว่าครบจบในที่เดียว ตั้งแต่เรียนรู้การดูแลอนุบาลเต่าทะเล การออกจากไข่ จนโตพอที่จะปล่อยลงสู่ทะเล พร้อมกลับคืนสู่ธรรมชาติ
🌟เกร็ดความรู้ เมื่อเต่าร้อน ❗️
รู้หรือไม่ว่าภาวะโลกร้อน ทำให้ไข่ของแม่เต่า ฟักตัวออกมาเป็นลูกเต่าเพศเมียถึง 99.8 % เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน ๆ ทำให้ชายหาดที่เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่านั้น ต้องมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผลการวิจัยพบกว่า ลูกเต่าจะเกิดมาเป็นตัวผู้หรือตัวเมียนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ชายหาด ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น ลูกเต่าส่วนใหญ่จะฟักตัวเป็นตัวเมีย หากว่าอุณหภูมิต่ำ ลูกเต่าส่วนใหญ่จะฟักตัวเป็นตัวผู้ แต่ถ้าหากว่าแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ลูกเต่าจะฟักตัวออกมาเป็นตัวผู้และตัวเมีย 50 : 50
เต่าในประเทศไทยกำลังจะฟื้นกลับมาแล้ว แต่ช่วงหนึ่งในอดีต จำนวนของเต่าลดลงเรื่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด เพราะเศษขยะและพลาสติกที่ตกลงไปในท้องทะเล ในวันที่ 23 พฤษภาคม เนื่องในวันเต่าโลก ALTV ขอเชิญชวนทุกคน ร่วมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงสู่ทะเล เพื่อป้องกันการสูญเสียของสัตว์ชนิดอื่น และอนุรักษ์เต่าที่หายากไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากท้องทะเล
ออกเดินทางไปเรียนรู้เรื่องของเต่าในไทย สัตว์เลี้ยงธรรมดา ที่เป็นมากกว่าครอบครัว ติดตามรับชมรายการ ตัวโปรดตัวป่วน ทุกวันศุกร์ เวลา 09.30 – 10.00 น. ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก