ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของ “คนพิการ”
แชร์
ชอบ
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของ “คนพิการ”
03 ธ.ค. 65 • 05.16 น. | 2,373 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันคนพิการสากล” หรือ International Day of People with Disability เพื่อเป็นการระลึกถึงวันครบรอบ ตระหนักรู้ถึงความเข้าใจ การยอมรับ และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เป็นผู้พิการทั่วโลกให้ได้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติ มีความสุข และเท่าเทียมกัน

ความหมายของคำว่า “คนพิการ” นั้นหมายถึง “บุคคลที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม” โดยในปี พ.ศ.2525 สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติมีการรับรองแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ (World Programme of Action concerning Disabled Persons) และสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ได้มีการเฉลิมฉลองวันคนพิการสากลในทุก ๆ ปีอีกด้วย นอกจากจะเป็นการสร้างการตระหนักรู้ถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนพิการแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการอย่างต่อเนื่อง โดยจากสถิติคนพิการทั่วโลก พบว่า ในกลุ่มประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก มีประชากรที่เป็นกลุ่มคนพิการมากที่สุดในโลก สาเหตุหลักเกิดจากปัญหาความยากจน ความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุบัติเหตุจากสงคราม เป็นต้น

และในขณะเดียวกันสถิติคนพิการในประเทศไทยที่ได้รับการจดทะเบียนทั่วประเทศ จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า

ประเทศไทยมีประชากรคนพิการทางการมองเห็น การได้ยินหรือสื่อความหมาย ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ทางจิตใจหรือพฤติกรรม ทางสติปัญญา ทางออทิสติก ทางการเรียนรู้ และอื่น ๆ เป็นจำนวนมากถึง 2,103,617 คน
  • เป็นผู้ชาย จำนวน 1,098,990 คน
  • เป็นผู้หญิง จำนวน 1,004,627 คน

         และกลุ่มผู้พิการเหล่านี้จึงต้องได้รับความช่วยเหลือ การดูแล และการสร้างสรรค์หลากหลายวิธีในการสนับสนุนผู้พิการในสังคมจากทุกภาคส่วนที่สร้างขึ้นเพื่อคนพิการ ยกตัวอย่างจาก มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงจัดทำโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ โดยเฉพาะเด็ก ๆ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ และสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นไม่ต่างจากคนอื่น ๆ อีกด้วย เช่นเดียวกับการสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อคนพิการ ไปดูกันเลยว่าจะมีอะไรกันบ้าง

  • พื้นที่จอดรถสำหรับคนพิการ ที่มีขนาดของพื้นที่แตกต่างจากช่องจอดทั่วไป โดยกฎหมายระบุไว้ว่า ความกว้างไม่น้อยกว่า 2,400 มิลลิเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6,000 มิลลิเมตร และต้องเว้นระยะห่างด้านข้างตัวรถไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร เพื่อความสะดวกในการขึ้น-ลง
  • ทางลาด เพื่อคนพิการที่ต้องนั่งรถเข็น โดยต้องคำนึงถึงองศาในของการลาดเอียง ความกว้าง และพื้นผิวที่ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้
  • ห้องน้ำ สำหรับคนพิการที่ต้องมีขนาดกว้างมากขึ้นจากปกติ ติดตั้งอ่างล้างมือที่ต่ำลง มีราวจับสำหรับการพยุงตัวลุก-นั่ง
  • รถโดยสารสาธารณะ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางที่เป็นอุปสรรคให้กับกลุ่มผู้พิการที่ไม่สามารถขับรถได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เช่นเดียวกับทุกคน จึงควรต้องมีรถโดยสารสาธารณะที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มคนพิการได้ใช้บริการร่วมด้วยนั่นเอง
  • ลิฟท์ หรือ บันไดเลื่อนสำหรับคนพิการ ซึ่งเป็นการลดแรงคนในการช่วยเหลือ พาขึ้นไปที่ชั้นอื่น ๆ แต่ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกนี้ อาจจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนพิการบางกลุ่มในการเดินขึ้น-ลงบันไดนั่นเอง
  • สัญญาณไฟสำหรับการเดินข้ามถนน เป็นตัวช่วยให้คนพิการเดินข้ามถนนไปถึงอีกฝั่งหนึ่งได้ โดยติดตั้งเซ็นเซอร์ หรือกดปุ่มเพื่อแสดงถึงความต้องการที่จะข้ามถนน สัญญาณไฟก็จะเริ่มทำงาน วิธีนี้จึงเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการข้ามถนนของทุกคน      

         ถึงแม้ว่าบางอย่างอาจจะไม่ตอบโจทย์สำหรับกลุ่มคนพิการ แต่เชื่อปัจจุบันมีการคิดค้นหลากหลายวิธี เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตได้เท่าเทียมกันในสังคม ทั้งเรื่องของการเดินทาง ขนส่งมวลชน ความบันเทิง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในชีวิตก็อาจปิดกั้นพรสวรรค์ที่ซ่อนอยู่ในตัวของพวกเขาเหล่านี้ไปได้ วันนี้ ALTV จะพาไปทำความรู้จักกับคนพิการตัวเล็ก ๆ แต่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ กับผลงานและความสำเร็จที่โด่งดังเป็นประจักษ์ไปทั่วโลก

5 คนพิการที่มีผลงานโด่งดังระดับโลก🌎

1. ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ (Ladda Tammy Duckworth)

นักการเมืองชาวอเมริกัน ที่เกิดในกรุงเทพมหานคร แต่ต้องโยกย้ายตามครอบครัวไปหลายประเทศ ซึ่งผลงานที่ผ่านมาเธอเป็นนักบินเฮลิคอปเตอร์ในกองทัพสหรัฐอเมริกา และได้รับอุบัติเหตุในสงครามอิรักเมื่อปี 2004 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องสูญเสียขาทั้ง 2 ข้าง จนต้องใช้ขาเทียมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และในปี 2012 เธอหันไปโลดแล่นบนเส้นทางการเมืองสหรัฐฯ และได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้เธอเป็นสตรีพิการคนแรก และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงเชื้อสายไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ โดยเธอได้แสดงจุดยืนในการสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย และมองว่าชะตาชีวิตของเธอเป็นข้อดีที่ทำให้มองเห็นปัญหาหลายอย่างด้วยตนเอง เช่นเดียวกับสวัสดิการที่คนพิการควรจะได้รับ จึงไม่แปลกใจที่เธอได้รับฉายาและการยกย่องให้เป็น “ผู้หญิงแกร่งที่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่”

2. สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking)

นักฟิสิกส์ทฤษฏีและนักจักรวาลวิทยาชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก โดยในวัย 21 ปี โชคชะตาเหมือนจะไม่เข้าข้าง เขาป่วยเป็นโรค Amyotrophic Lateral Sclerosis หรือ ALS ที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบลง และต้องใช้รถเข็นไปตลอดชีวิต แต่ข่าวร้ายนี้ไม่ทำให้เขาทิ้งงานที่ใฝ่ฝันได้ ทำให้เขาเป็นนักวิชาการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ลูคาเซียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับ ไอแซก นิวตัน ที่เคยเป็นมาก่อน ทั้งหมดนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า เขาเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าความทุพพลภาพไม่ได้สัมพันธ์กับความสำเร็จในชีวิต และเรื่องราวของเราถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน แม้เขาได้จากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับก็ตาม

3. ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo)

ศิลปินผู้ที่มีความสามารถมากที่สุดในเม็กซิโก เธอป่วยด้วยโรคโปลิโอ ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ทำให้ขาข้างขวาสั้นกว่าปกติ และต่อมาได้รับอุบัติเหตุครั้งใหญ่บนรถบัส แท่งเหล็กแทงทะลุผ่านกระดูกเชิงกราน ทำให้ชีวิตเธอต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล เธอเปรียบเสมือนไอคอนที่สำคัญในวงการศิลปะด้าน Surrealism ด้วยการวาดภาพที่มีสีสัน การวาดภาพตัวเธอเอง รวมไปถึงการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวเม็กซิกันในยุคปฏิวัติ ทำให้ผลงานของเป็นที่โดดเด่น สะดุดตา และเป็นที่น่าสนใจของใครหลายคน ตั้งแต่นั้นมาศิลปะจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยบำบัดและเยียวยาจิตใจของเธอตลอดมาจนถึงวินาทีสุดท้าย

4. นิค วูจิซิค (Nick Vujicic)

นักสร้างแรงบันดาลใจชาวออสเตรเลีย ที่ไม่มีแขนขาก็สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ เขาเกิดมาพร้อมกับอาการผิดปกติของร่างกายที่ทำให้ผู้ป่วยไม่มีแขนและขา โดยเรียกอาการนี้ว่า Tetra-amelia disorder และเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่โดนเพื่อน ๆ กลั่นแกล้ง และถูกมองว่าเป็นตัวตลกตลอดมา แต่ก็ฉุกคิดได้ว่า จะไม่ยอมให้ร่างกายเป็นอุปสรรค ขัดขวางความตั้งใจที่อยากจะมีชีวิตเหมือนคนทั่วไป โดยเริ่มเขียนหนังสือ Life Without Limbs แชร์ประสบการณ์ชีวิตในวันเด็กที่เจ็บปวด และถูกตีพิมพ์และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ วางขายไปทั่วโลก จนกลายเป็นคนพิการที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างเช่นทุกวันนี้

5. สตีวี วันเดอร์ (Stevie Wonder)

ศิลปินและนักแต่งเพลงชาวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอุตสาหกรรมดนตรี ที่เกิดมาพร้อมกับความพิการทางสายตา แต่เขาได้พิสูจน์พรสวรรค์ให้ทุกคนได้เห็นกับผลงานเพลงที่มากกว่า 26 อัลบั้ม มียอดขายมากกว่า 100 ล้านแผ่นทั่วโลก และได้รับรางวัลแกรมมีมากที่สุดถึง 25 รางวัล จนเขาได้กลายได้เป็นต้นแบบของนักร้องที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั้งโลก พร้อมให้ข้อคิดที่ว่า การที่คุณตาบอด ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่รู้อะไร คุณสามารถรับรู้ทุกอย่างด้วยการฟัง

👩‍🦼เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

         ปิดท้ายด้วยเกร็ดความรู้ และความหมายของอาการเหล่านี้

  1. Tetra-amelia disorder คือ กลุ่มอาการเตตรา-อะมีเลีย หรือ เตตราอะมีเลียชนิดถ่ายทอดทางออโตโซมมีลักษณะด้อย เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ผู้ป่วยไม่มีแขนขา และมีอวัยวะส่วนอื่นผิดปกติ
  2. Amyotrophic Lateral Sclerosis คือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด
  3. Polio หรือ Poliomyelitis คือ โรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ หรือเป็นอัมพาตนั่นเอง

กลุ่มคนพิการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคม และสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับมากมาย ด้วยความสามารถและพรสวรรค์ในตนเอง และสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้คือการที่พวกเขาไม่ได้มีครบ 32 เหมือนคนทั่วไป แต่พวกเขาสามารถชนะใจตัวเอง และคนทั้งโลกได้ นี่แหละคือความภาคภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ของที่สุดในพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#คนพิการ, 
#วันคนพิการสากล, 
#ธันวาคม, 
#ความเท่าเทียม, 
#ความเหลื่อมล้ำ, 
#วันคนพิการคืออะไร, 
#คนพิการในไทย, 
#คนพิการที่ดัง, 
#ผลงานคนพิการ, 
#ระดับโลก, 
#แทมมีดักเวิร์ธ, 
#สตีเฟน, 
#ฟรีดา, 
#นิควูจิซิค, 
#สตีวีวันเดอร์, 
#มูลนิธีเพื่อคนพิการ, 
#ผิดปกติ, 
#ลักษณะด้อย, 
#กล้ามเนื้ออ่อนแรง, 
#อาการเตตราอะมีเลีย, 
#โปลิโอ, 
#Polio, 
#อัมพาต, 
#กล้ามเนื้อลีบ 
ผู้เขียนบทความ
avatar
PHAKAWAN PHOCHAROEN
PANGRAM
หลงใหลการตั้งแคมป์ในฤดูหนาว คลั่งรักธรรมชาติระดับ 10
ALTV CI
Interest Thing
Interest Thing
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
PHAKAWAN PHOCHAROEN
PANGRAM
หลงใหลการตั้งแคมป์ในฤดูหนาว คลั่งรักธรรมชาติระดับ 10
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#คนพิการ, 
#วันคนพิการสากล, 
#ธันวาคม, 
#ความเท่าเทียม, 
#ความเหลื่อมล้ำ, 
#วันคนพิการคืออะไร, 
#คนพิการในไทย, 
#คนพิการที่ดัง, 
#ผลงานคนพิการ, 
#ระดับโลก, 
#แทมมีดักเวิร์ธ, 
#สตีเฟน, 
#ฟรีดา, 
#นิควูจิซิค, 
#สตีวีวันเดอร์, 
#มูลนิธีเพื่อคนพิการ, 
#ผิดปกติ, 
#ลักษณะด้อย, 
#กล้ามเนื้ออ่อนแรง, 
#อาการเตตราอะมีเลีย, 
#โปลิโอ, 
#Polio, 
#อัมพาต, 
#กล้ามเนื้อลีบ 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา