ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
ทำความรู้จัก พายุและคลื่นลม
แชร์
ฟัง
ชอบ
ทำความรู้จัก พายุและคลื่นลม
11 ก.ค. 67 • 09.40 น. | 1,525 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

"วาตภัย" คือหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากพายุคลื่นลมแรง ซึ่งอันตรายที่เกิดจากพายุ ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับประเทศไทยวาตภัยหรือพายุคลื่นลมแรงมีสาเหตุจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ แบ่งลักษณะของวาตภัยตามความเร็วลม อาทิ พายุฟ้าคะนอง พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น  

พายุ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของลม หรือมวลอากาศที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิจากบรรยากาศโดยรอบ เกิดในพื้นที่ที่มีความกดอากาศต่ำ ทำให้เกิดกระแสลมพัดเข้าหาจุดศูนย์กลางของบริเวณดังกล่าวเนื่องจากมวลอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสูง ส่งผลให้มวลอากาศในแนวราบที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเข้ามาแทนที่ เกิดการหมุนเวียนของอากาศจนเป็นกระแสการเคลื่อนที่ของลม ก่อนพัฒนาเป็นพายุในรูปแบบต่างๆ

 

โดยประเภทของพายุ แตกต่างกันไปตามความแรงของมวลอากาศในพายุและสาเหตุของการเกิดพายุ โดยสามารถแบ่งพายุออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm)

 เป็นพายุที่เกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้นมาก โดยมากเกิดในประเทศเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร เมื่ออากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นและมีไอน้ำในปริมาณมากพอจะเกิดการกลั่นตัวควบแน่น เป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งจะมีทั้งลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฝนตกหนักเกิดขึ้นพร้อมกัน

ลมพายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone)

เกิดจากความกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นในบริเวณเขตร้อน ซึ่งมีศูนย์กลางที่มีอากาศพัดวนเป็นวงกลมและมีลักษณะของลมที่โบกพัดรอบศูนย์กลาง ปกติแล้วจะเกิดขึ้นในมหาสมุทรและทะเล โดยธรรมชาติของพายุหมุนเขตร้อนจะมีความรุนแรงมากกว่าพายุที่เกิดขึ้นในเขตอบอุ่น เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงและความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศที่มากกว่า

 

ขณะที่ พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) เป็นพายุหมุนที่ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร (ค่าความกดอากาศต่ำเกิดจากการที่มวลอากาศได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์และยกตัวสูงขึ้น ทำให้ความกดอากาศบริเวณนั้นลดลง) มักเกิดบริเวณผิวน้ำทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส มีลักษณะเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นพร้อมลมที่พัดรุนแรง หากยิ่งใกล้จุดศูนย์กลางของพายุ ลมจะหมุนจนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วอยู่ที่ประมาณ 120 – 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทของพายุหมุนเขตร้อนได้ตามความแรงของลมพายุ ได้แก่ พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอริเคน มี ความเร็วลมสูงสุดบริเวณศูนย์กลางของพายุ ตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป พายุโซนร้อน เกิดขึ้นเมื่อพายุเฮอริเคนอ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง มีความเร็วลมสูงสุดบริเวณศูนย์กลางของพายุ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป พายุระดับนี้อาจเริ่มเห็นเกลียวแขนของกลุ่มเมฆบ้าง และพายุดีเปรสชัน เกิดขึ้นจากพายุโซนร้อนที่มีความเร็วลดลง มีความเร็วลมสูงสุดบริเวณศูนย์กลางของพายุไม่ถึง 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

 

พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกแตกต่างตามพื้นที่ที่เกิด หากเป็นพายุหมุนเขตร้อนในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น เช่น พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน หรือพายุไต้ฝุ่นโยลันดาที่เกิดในประเทศฟิลิปปินส์ และหากเกิดพายุหมุนเขตร้อนในพื้นที่มหาสมุทรอินเดีย เรียกว่าพายุไซโคลน เช่น พายุไซโคลนอิดาอี พายุไซโคลเฟรดดี ที่เข้าปะทะประเทศโมซัมบิก พายุไซโคลนโมคาในประเทศเมียนมา ขณะที่การเกิดพายุหมุนเขตร้อนในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกจะเรียกว่าพายุเฮอริเคน เช่น พายุเฮอริเคนดาเนียลที่พัดถล่มลิเบียตะวันออก 

พายุทอร์นาโด (Tornado) หรือ พายุงวงช้าง

เป็นพายุที่เกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกัน จนก่อตัวเป็นลมหมุน เกิดขึ้นได้ทั้งบนบกและทะเล ประมาณร้อยละ 90 เกิดขึ้นบนบกและสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีปและในหลายประเทศทั่วโลก พบบ่อยในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศสามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันได้บริเวณทุ่งราบ โดยทอร์นาโดสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ ที่พบได้บ่อยสุด 

 

ฝนฟ้าคะนองเป็นของคู่กัน แต่ว่าจะเกิดก่อนหรือหลัง เมฆก้อนนี้เป็นเมฆเฉพาะในทางอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า เมฆคิวบูโลนิมบัส คือเมฆที่มีลักษณะหนาสูงทึบ ก้อนใหญ่ๆ สีเทาๆ ในแนวตั้ง คล้ายรูปสโนว์แมน หรือมนุษย์หิมะ เกาะตัวจนโตขึ้นเรื่อยๆ หัวจะเริ่มบานเหมือนใส่หมวก โดยมีความสัมพันธ์กับพายุฟ้าคะนองและอากาศที่มีลักษณะแปรปรวน

 

ส่วนพายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นพายุหมุนเขตร้อนดีเปรสชัน เนื่องจากพายุอ่อนกำลังลงก่อนถึงประเทศไทย เริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป แต่เดือนตุลาคมจะเป็นเดือนที่พายุมีโอกาสเคลื่อนได้มากที่สุด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุที่กำลังทวีความรุนแรงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในที่สุด

การป้องกันอันตรายจากภัยธรรมชาติ

ในช่วงฤดูนี้ ประชาชนควรเตรียมตัวป้องกันพายุฝนและคลื่นลมแรง ด้วยการติดตามพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นประจำ 

  • สังเกตท้องฟ้าเมื่อเห็นว่าฝนใกล้ตกให้รีบกลับเข้าบ้านหรือหาที่หลบ 
  • หมั่นตัดกิ่งไม้ หรือต้นไม้ที่อาจตกลงมาใส่ ซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ 
  • ตรวจสอบอาคารบ้านเรือนให้มั่นคง แข็งแรง
  • จัดเก็บสิ่งของในบ้านที่อาจเสียหายหรือปลิวตามกระแสลม
  • ติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า 
  • จัดเตรียมของใช้ที่จำเป็นไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย ยา อาหารแห้ง รวมถึงการงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า โทรศัพท์และออกห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด
แท็กที่เกี่ยวข้อง
##พายุ, 
##คลื่นลม, 
##ทอร์นาโด, 
##ฝน 
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
ALTV CI
ข่าว ALTV
ข่าว ALTV
ALTV News
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
แท็กที่เกี่ยวข้อง
##พายุ, 
##คลื่นลม, 
##ทอร์นาโด, 
##ฝน 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา