ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
"เมตตา" ช่วยอะไรได้
แชร์
ชอบ
"เมตตา" ช่วยอะไรได้
02 พ.ย. 65 • 09.09 น. | 3,092 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ทุกอย่างคงจะดีกว่านี้ หากมีเมตตา

มันต้องมีเหตุผลอะไรที่สำคัญ ถึงทำให้คำว่า “เมตตา” เป็นหลักธรรมแรกของพรหมวิหาร 4 ในศาสนาพุทธ ลองคิดตามดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากมนุษย์ขาดความเมตตา

วันที่ร่างกายอ่อนแอจากการโหมทำงานหนัก และจิตใจก็พลอยเบาหวิวแทบจะไม่สามารถรับแรงกระแทกจากเรื่องราวใดใด ข่าวสะเทือนใจผุดขึ้นมาเต็มฟีด ยังไม่ทันหายจิตตกจากเรื่องหนองบัวลำภู ไหนจะข่าวน้ำท่วม ล่าสุดคือข่าวจากเกาหลีใต้ ตรอกขนาดเล็กในเทศกาลฮาโลวีน มันจะต้องโหดร้ายแค่ไหนถึงทำให้คนที่เริ่มต้นจากการไปเที่ยวสนุก ถึงกับเบียดกันจนเสียชีวิต อยู่ดีดีคำว่า “เมตตา” ก็ลอยขึ้นมาในหัว เรื่องมันเป็นยังไง ไหนเล่าซิ!!

เมตตา เป็นคำที่แสนวิเศษ ที่แค่ได้เปล่งเสียงออกมาก็มีความอ่อนโยนและปลอบประโลม เมตตา เป็นหลักธรรมแรกที่ไม่เพียงแต่ทำให้ชีวิตและหัวใจเราเบาสบายแล้ว ยังทำให้สังคมและโลกไปข้างหน้า

“สังคมใดที่สมาชิกต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สังคมนั้นจึงจะเจริญก้าวหน้าและอยู่รอด”

คือคำกล่าวของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน บิดาแห่งชีววิทยา ผู้ที่ค้นพบทฤษฏีธรรมชาติคัดสรร ยังเห็นความสำคัญของความเมตตา ซึ่งเป็นเหตุแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของมนุษย์ ความเมตตาเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติในตัวเราทุกคน เพียงแต่จะถูกขยับขยายให้ใหญ่โตแค่ไหนอาจเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด และจากการถูกเลี้ยงดู ผู้ที่ได้รับความรักย่อมจะรู้จักความเมตตา และความเมตตานั้นก็เกิดขึ้นจากความสนิทสนม เกิดขึ้นจากการที่ได้ปกป้องคุ้มครอง เกิดขึ้นจากหัวใจที่อ่อนโยน และแม้แต่ความสงสารก็ก่อให้เกิดความเมตตาได้เช่นกัน

มันเกิดอะไรขึ้นกับหัวใจของเราเมื่อได้เห็นแววตาของน้องหมาน้องแมว เมื่อได้เห็นผู้สูงอายุที่ขายลูกอมข้างทาง เมื่อได้เห็นมือเล็ก ๆ และแก้มพวงยุ้ยของเด็กน้อย เมื่อได้เห็นคนหอบข้าวของพะรุงพะรังบนรถโดยสารที่แน่นขนัด หรือแม้แต่คนแปลกหน้าที่กำลังประสบอุบัติเหตุ เมื่อได้เห็นข่าวความสูญเสียเดือดร้อนต่าง ๆ ของผู้คน หัวใจเราเป็นอย่างไรบ้าง

หากคุณรู้สึกบางอย่างที่หัวใจ นั่นคือเมล็ดพันธุ์ของความเมตตาที่กำลังดิ้นดุ๊กดิ๊ก มันอาจสั่งให้ตัวของเราย่อต่ำลงเพื่อทักทาย ทำให้เราควานหาเศษเงินในกระเป๋า ทำให้เราลุกขึ้นยืนเพื่อให้คนอื่นได้นั่ง และทำให้เราก้าวฉับ ๆ และยื่นมือไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่น ทั้งที่เราไม่รู้จัก

เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราเกื้อกูลต่อกัน นอกจากบรรเทาความทุกข์ยาก ยังช่วยเยียวยาหัวใจของกันและกันได้อย่างวิเศษ แม้บางครั้งความเมตตาอาจทำให้เราเดือดร้อน แต่ความเมตตาก็เป็นจุดเริ่มต้นเดียวกันที่จะช่วยให้เราสามารถให้อภัย ความเมตตาซึ่งเป็นหลักธรรมแรกนี้จะช่วยขัดเกลาจิตใจเราไม่ให้ทำเรื่องแย่ ๆ อีกมากมาย จะช่วยให้สังคมที่เราอาศัยอยู่นี้ดีขึ้นได้แค่ไหน

แต่หากทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ทำให้คุณรู้สึกอะไรที่หัวใจเลย บางทีคุณอาจจะเป็นโรคขาดความเมตตา

โรคขาดความเมตตา เป็นโรคจริง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัส หรือร่างกายที่อ่อนแอ

“โรคขาดความเมตตา หรือ Compassion Deficit Disorder (CDD) ใช้เรียกลักษณะอาการของเด็กในสังคมปัจจุบันที่มีภาวะขาดความเห็นอกเห็นใจ ไม่รู้สึกรู้สา หรือคำนึงถึงความรู้สึกและผลกระทบที่เกิดกับผู้อื่นเมื่อกระทำการใด ๆ ลงไป ทั้งมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงหรือการข่มขู่บีบคั้นเพื่อให้ได้ตามต้องการ”

ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็กจากวีล็อคคอลเลจบอสตัน

ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นที่ลูกหลานของเราจะกลายเป็นโรคนี้ เรากำลังพูดถึงโลกในอนาคตที่เต็มไปด้วยมนุษย์ที่ขาดความเมตตา ซึ่งทั้งหมดเป็นผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของเราในปัจจุบันนี้ โลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันการเอาตัวรอด ทำให้เราอาจหมกมุ่นอยู่กับการทำงานและทิ้งเทคโนโลยีให้เป็นผู้เลี้ยงดูลูกหลาน ทั้งแท็บเล็ต มือถือ ที่เต็มไปด้วยเกม การสื่อสารทางเดียวทำให้เด็ก ๆ เหล่านั้นขาดการเชื่อมโยงอารมณ์กับมนุษย์ด้วยกัน การรับ-ส่งความรู้สึกระหว่างมนุษย์เป็นก้าวแรกของพัฒนาการทางด้านจิตใจ ที่จะทำให้เด็กมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเป็นการฝังเมล็ดแห่งความเมตตาลงในหัวใจของมนุษย์ตัวน้อย ๆ

ความรุนแรงในโซเชียล การยึดติดความสมบูรณ์แบบ การแสดงความรู้สึกโดยไม่ผ่านการกลั่นกรอง การตัดสินผู้อื่นในทันทีทันใด และใช่ทุกการบูลลี่บนโลกไซเบอร์ วัฒนธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นจากการขาดความเมตตา

หากเราไม่ได้แยแสต่อสิ่งใด ไม่มีอะไรมีค่าพอให้รักษาหรือปกป้องนอกจากตัวเอง แล้วอะไรคือความหมายของการเกิดมาบนโลกใบนี้ หากเราขาดความเมตตาไปเสียแล้ว

อย่าให้ความเมตตาที่อยู่ในหัวใจเราเหี่ยวแห้งแล้งด้วยการรู้สึก แต่ไม่ขยับ เราบริหารความเมตตาได้ทุกวันด้วยการแสดงออกที่มีความหมายดี ๆ ต่อสิ่งอื่น อาจจะเริ่มต้นจากการรู้จักที่จะเมตตาต่อร่างกายตัวเอง ด้วยการดูแลให้ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ ได้ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายที่รักของเรานั้นแข็งแรง รู้จักที่จะเมตตาต่อหัวใจตัวเองด้วยการให้อภัยสิ่งที่เราทำผิดพลาดไป เพราะเมื่อเรียนรู้ที่จะอภัยให้ตัวเอง เราจะรู้จักให้อภัยต่อคนอื่น กับเรื่องราวต่าง ๆ ที่ไม่ได้ดั่งใจ

เพราะความเมตตาเป็นเกราะป้องกันหัวใจตัวเองที่แข็งแกร่ง และในขณะเดียวกันก็มีความอ่อนโยนมหาศาลที่จะมอบให้กับผู้อื่นเช่นเดียวกัน หากจะถามว่าอะไรที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้...“ความเมตตา”

เกร็ดความรู้

พรหมวิหาร 4 : เป็นหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตอย่างประเสริฐ เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เมตตา : ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า

กรุณา : ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่น

มุทิตา : ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

อุเบกขา : ความวางใจเป็นกลาง คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ

เมตตา ในภาษาอังกฤษ คือ merciful , kind , gracious , pitying

เรื่อง // ภาพประกอบ : ณภัค ภูมิชีวิน

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#เมตตา, 
#mercy, 
#พรหมวิหาร4, 
#ศาสนาพุทธ, 
#หลักธรรม, 
#คำสั่งสอน, 
#พระพุทธเจ้า, 
#โศกนาฏกรรม, 
#อิแทวอน, 
#โรคขาดความเมตตา, 
#ชาร์ลส์ดาร์วิน, 
#บิดาแห่งชีววิทยา, 
#ชีววิทยา, 
#การเอาตัวรอด, 
#ความเห็นแก่ตัว, 
#ความอ่อนโยน, 
#วิธีเลี้ยงลูก, 
#ไซเบอร์บูลลี่, 
#การบูลลี่, 
#โซเชียลมีเดีย, 
#อันตรายของโซเชียลมีเดีย, 
#การเลี้ยงลูก, 
#ความช่วยเหลือ, 
#เมตตาธรรม, 
#แนะนำบทความ, 
#บทความแนะนำ, 
#นักเขียน, 
#บทความALTV, 
#ALTV, 
#ThaiPBS, 
#ไทยพีบีเอส, 
#ณภัคภูมิชีวิน, 
#ไหนเล่าซิ, 
#โรคขาดความเมตตา, 
#CompassionDeficitDisorder, 
#โรคขาดความเมตตาหรือCompassionDeficitDisorder(CDD) 
ผู้เขียนบทความ
avatar
ณภัค ภูมิชีวิน
POOMM
เป็นคนคิดอย่างไร เขียนอย่างไร ไม่ใช่คนคิดอย่างไร เขียนอย่างนั้น
ALTV CI
ไหนเล่าซิ !
ไหนเล่าซิ !
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
ณภัค ภูมิชีวิน
POOMM
เป็นคนคิดอย่างไร เขียนอย่างไร ไม่ใช่คนคิดอย่างไร เขียนอย่างนั้น
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#เมตตา, 
#mercy, 
#พรหมวิหาร4, 
#ศาสนาพุทธ, 
#หลักธรรม, 
#คำสั่งสอน, 
#พระพุทธเจ้า, 
#โศกนาฏกรรม, 
#อิแทวอน, 
#โรคขาดความเมตตา, 
#ชาร์ลส์ดาร์วิน, 
#บิดาแห่งชีววิทยา, 
#ชีววิทยา, 
#การเอาตัวรอด, 
#ความเห็นแก่ตัว, 
#ความอ่อนโยน, 
#วิธีเลี้ยงลูก, 
#ไซเบอร์บูลลี่, 
#การบูลลี่, 
#โซเชียลมีเดีย, 
#อันตรายของโซเชียลมีเดีย, 
#การเลี้ยงลูก, 
#ความช่วยเหลือ, 
#เมตตาธรรม, 
#แนะนำบทความ, 
#บทความแนะนำ, 
#นักเขียน, 
#บทความALTV, 
#ALTV, 
#ThaiPBS, 
#ไทยพีบีเอส, 
#ณภัคภูมิชีวิน, 
#ไหนเล่าซิ, 
#โรคขาดความเมตตา, 
#CompassionDeficitDisorder, 
#โรคขาดความเมตตาหรือCompassionDeficitDisorder(CDD) 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา